วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รังสีแกมม่า




รังสีแกมมา (γ )

คือ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวสั้นที่สุดและมีพลังงานเยอะที่สุด มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10¯¹¹ -  10¯¹⁴ เมตร  
รังสีแกมมาเกิดจากกัมมันตภาพรังสีที่เกิดสภาวะความไม่เสถียรภายในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี

คุณสมบัติของรังสีแกมมา

   -ความยาวคลื่นสั้น
   -อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
   -ไม่มีประจุและไม่มีมวล
   -ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า
   -เป็นรังสีก่อไอออน




                    ภาพนี้แสดงถึงรังสีแกมมาที่สามารถทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆมาได้จนมาถูกสกัดกั้นที่แท่งตะกั่ว

ที่มา : https://sites.google.com/site/ratree1305/hmwd-khwam-ru/rangsi-xaelfa-bita-kaemma




ประโยชน์ของรังสีแกมมา


ด้านทางการแพทย์
-ใช้รังสีแกมมาในการทำลายมะเร็งหรือเนื้องอก
-ใช้ในการตรวจและวินิจฉัยโรค
-ใช้ในหารทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์





ด้านเกษตรกรรม
-ใช้อาบผลิตผลทางการเกษตรเพื่อให้ปราศจากแมลงและเก็บรักษาได้นานก่อนบรรจุส่งออก








ด้านดาราศาตร์
-ใช้วิเคราะห์อวกาศ ดวงดาว และกาแลคซี่ เช่นเดียวกับการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ เพื่อดูว่าแหล่งใดในจักรวาลให้รังสีแกมมาออกมา


                                                ดาวเทียม SAS-2 เป็นดาวเทียมดวงแรกที่โคจรโดยใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา

ที่มา : https://imagine.gsfc.nasa.gov/science/toolbox/gamma_telescopes1.html


โทษของรังสีแกมมา

-ทำให้เซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะทำให้เกิดการผ่าเหล่า

-เมื่อร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว อาจทำให้เกิดอาการป่วยไข้เช่นมะเร็ง


คลิปวิดิโอ


สมาชิกกลุ่ม

  1. น.ส.กอบัว กฤษณามระ ม.6/3 เลขที่ 18
  2. น.ส. ศิริลักษณ์ วัชรวงษ์ไพบูลย์ ม.6/3 เลขที่44
  3. น.ส. อติวรรณ ภิรมย์รื่น ม.6/3 เลขที่ 48